วันที่ 30 มกราคม 2567 นายจุลชาติ จุลเพชร นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษรักษาราชการแทน ปศุสัตว์จังหวัดตรัง มอบหมายให้ นางสาวนูรีญา ตาเดอิน

เจ้าพนักงานสัตวบาลปฏิบัติงาน เข้าร่วมประชุม คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (จังหวัดตรัง) ครั้งที่ 5 และพิธีเปิดศูนย์ประสานงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพจังหวัดตรัง

โดยมีนายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานการประชุม คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (จังหวัดตรัง) ครั้งที่ 5 และพิธีเปิดศูนย์ประสานงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพจังหวัดตรัง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และร่วมพิธีเปิดศูนย์

ณ ห้องธนารินทร์ 2 ชั้น 2 โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

  ตามที่ประเทศไทย กำหนดการยกระดับการแก้ไขปัญหา สภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2050 และบรรลุ เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ.2065 นั้น

  ทุกจังหวัด ได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซกระจกของประเทศ และจังหวัดตรังได้แต่งตั้งคณะทำงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดตรัง โดยดำเนินโครงการ การพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดตรัง และมีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นที่ปรึกษาโครงการ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อจัดทำรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก และแผนการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัดตรัง (2) เพื่อจัดทำรายงานสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการ ในระดับพื้นที่ ซึ่งสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง ในฐานะฝ่ายเลขานุการ เงินการจัดประชุมคณะทำงาน วันนี้เป็นครั้งที่ 5 และจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 นี้

 และเพื่อขับเคลื่อนตามนโยบาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพจังหวัดตรัง ตั้งอยู่ ณ สำนักงาน ทสจ.ตรัง บริเวณโรงแรมตรังพลาซ่า ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีภารกิจหลัก (1) เป็นเกณฑ์กลางในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจและความตระหนัก ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(2) ประสานความร่วมมือเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับคณะทำงาน รวมถึงภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเป็นแหล่งข้อมูล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินการต่างๆได้

 โดยในที่ประชุมได้นำเสนอ แผนปฏิบัติการปรับตัว ต่อผลกระทบ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ จังหวัดตรัง โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ครอบครัวปศุสัตว์ “ทำด้วยใจ ทำให้ไว ทำได้จริง”

--------------------------------

รายงานโดย : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตรัง